callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัส Ebola

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไวรัส Ebola

      ไวรัส Ebola หรือในชื่อภาษาไทยคือ อีโบล่า เป็นไวรัสที่มีความรุนแรงและยังไม่มีวิธีรักษาที่จำเพราะเจาะจง ตายตัวแน่นอน โดยเฉพาะความรุนแรงและวิธีติดต่อของไวรัสที่เรียกว่า “Ebola” ในบทความนี้เราจะทำความรู้จักกับไวรัสชนิดนี้ในเบื้องต้นเพื่อเป็นการป้องกันและตื่นตัวกันนะครับ

ไวรัส Ebola คือ

Ebola คือไวรัสที่ทำให้เกิดโรคร้ายแรงถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาและจนถึงปัจจุบันยังไม่ทราบถึงต้นตอที่แท้จริงของเชื้อตัวนี้ว่ามาจากที่ใด แต่ทว่ามีการพบเชื้อ Ebola ในสัตว์ป่าบางประเภท แพร่ระบาทในแทบทวีปแอฟฟิกาโดยมีอัตราเสียชีวิตถึง 60-90% เลยทีเดียว

จุดกำเนิดของไวรัส Ebola

มีการค้นพบโรคที่เกิดจากไวรัส Ebola ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้ๆแม่น้ำ Ebola เมืองยัมบูกู ประเทศคองโกและระบาทขึ้นในอีกหลายๆครั้งในประเทศแทบทวีปแอฟฟิกา

การติดต่อ

เชื้อไวรัส Ebola สามารถติดต่อได้จากสัตว์สู่คนและจากคนสู่คน ผ่านทางการสัมผัสโดยตรง เลือด และสารคัดหลั่งจากร่างกายสัตว์หรือผู้ติดเชื้อโดยไม่ได้มีการป้องกัน

ลักษณะของอาการของโรคและวิธีรักษา

เชื้อ Ebola จะมีระยะฟักตัว 2-21 วัน ระหว่างนั้นจะมีอาการ ไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้ายทอย เจ็บคอ ในระยะแรก หลังจากผ่านระยะแรกจะเข้าสู่ระยะที่สอง ระยะที่สองไตและตับจะไม่ทำงาน ท้องเสีย อาเจียน มีผื่นแดงขึ้นตามตัว บางรายมีอาการเลือดออกจากภายในและภายนอกร่างกาย ระยะสุดท้ายระยะทีสาม อวัยวะภายในเสื่อมระบบลงและเสียชีวิตในที่สุด ส่วนการรักษาพยาบาลนั้นในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรงทำได้เพียงแค่รักษาตามอาการที่เป็นอยู่เท่านั้น

วิธีการป้องกัน

วิธีการป้องกันนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยงของเชื่อไวรัส และถ้าหากมีความจำเป็นต้องเดินทางไป เราจะต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะระมัดระวังอย่าได้ใช้ชิดผู้ป่วยหรือผู้มีอาการดังกล่าวเด็ดขาดหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่งต่างๆและสิ่งของผู้ป่วยแต่ในกรณีของผู้ที่ทำการรักษานั้นจะมีอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายเป็นพิเศษ หลักๆคือชุดป้องกันสารเคมีหรือสารปนเปื้อน หน้ากากนิรภัยและถุงมือนิรภัย เป็นอุปกรณ์สำคัญในการป้องกันเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย

ถึงแม้ว่าไวรัส Ebola จะยังไม่เข้าสู่ประเทศไทยของเรา เราก็อย่าได้นิ่งนอนใจเป็นอันขาดนะครับตื่นตัวและติดตามข่าวสารต่างๆอยู่ตลอดเวลาเพื่อรู้เท่าทันโรคร้ายโรคนี้กันนะครับ

 

อ้างอิงบทความจาก

http://www.stou.ac.th/study/sumrit/3-58(500)/page11-3-58(500).html

http://www.dst.or.th/html/index.php?op=article-detail&id=1227&cid=12#.VIbExTGUfPp


ชั้นสำหรับจ่ายสาร Dispensing Shelf

ชั้นสำหรับจ่ายสาร (Dispensing Shelf) รับน้ำหนักได้ 27 กก. และยึดอย่างหนาแน่อยู่กับชั้นวาง เพื่อให้สะดวกในการจ่ายสารจากถังที่อยู่ชั้นบน
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

แว่นตานิรภัย STEED E30413C57 กรอบสี Dark Grey Frosted

แว่นตานิรภัยสำหรับประกอบเลนส์สายตา กรอบสี Dark Grey ผลิตจากวัสดุ Tr90 น้ำหนักเบายืดหยุ่น ไม่เปราะหักได้ง่าย
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

แว่นตานิรภัยครอบแว่นสายตา Lespex

แว่นตานิรภัยแบบชิ้นเดียวLESPEX ออกแบบเพื่อใช้ครอบแว่นสายตา มีน้ำหนักเบากระชับ ผลิตจากพลาสติกโพลีคาร์บอเนตทั้งเลนส์ และขาแว่น เคลือบเลนส์ด้วยฟิล์ม
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

กระดาษเช็ดเลนส์ รหัสWSEKL462

เหมาะสำหรับการใช้ทำความสะอาดเลนส์แว่นตา , หน้าจอโทรศัพท์ , หน้าจอคอมพิวเตอร์
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า