callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> ระวังความปลอดภัยในการใช้ลิฟต์โดยสาร

ระวังความปลอดภัยในการใช้ลิฟต์โดยสาร

คุณเคยใช้ลิฟต์กันไหม ทุกคนคงตอบว่าเคยกันทั้งนั้น แล้วรู้รึเปล่าลิฟต์ที่ให้ความสะดวกสบาย มีอันตรายเหมือนกัน...? แต่ไม่ต้องตกใจ อันตรายที่ว่าจะไม่เกิดขึ้นหากเรารู้ข้อควรระวังในการใช้งานลิฟต์อย่างถูกต้อง  วันนี้ admin จึงมีข่าวสารน่ารู้จาก สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย) มาแชร์ให้อ่านกัน

ข่าวอันตรายรุนแรงที่เกิดจากลิฟต์เป็นเหตุ  แม้ว่าอาจไม่ได้เกิดขึ้นถี่นัก  แต่เมื่อเกิดขึ้นทีไรก็ช่างน่าสยดสยองอย่างคาดไม่ถึง...

“เด็กหญิง 10ขวบตกลิฟต์ห้างสยามพารากอนชั้น 2   แพทย์ระบุสมองได้รับการกระทบกระเทือนหนัก สันนิษฐานว่าเด็กเอื้อมมือออกมาเล่นน้ำตกเทียม โดยลิฟต์มีช่องเปิดอยู่”

“ลิฟต์อาคารซิตี้แบงก์ขาดผึ๋งขณะที่ช่างซ่อมบำรุงกำลังเปลี่ยนสายสลิง ผลคือช่างซ่อม ตาย 3  แขนขาด 1!”

“ 3 นักศึกษาราชภัฎเชียงใหม่ กดลิฟต์ขึ้นชั้น10 แต่ลิฟต์เกิดติดค้างระหว่างชั้น 9 และ ชั้น 10  ...นักศึกษาสองคนแรกโดดออกมาทางช่องประตูลิฟต์ ส่วนคนที่สามกลับเหยียบขอบประตูลิฟต์พลาด ทำให้พลัดร่วงตกลงไปในช่องลิฟต์ และเสียชีวิต”

ต้นกำเนิดของลิฟต์คือประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเปิดประเดิมให้ประชาชนได้ใช้บริการกันเมื่อ 150 ปีมาแล้ว(ค.ศ. 1857)

แม้จะใช้มันมาอย่างเนิ่นนานและมีพัฒนาเทคโนโลยีกันอย่างต่อเนื่อง( ตึกเอมไพร์สเตท นิวยอร์ก ลิฟต์ทั้ง 73ตัวนั้นมีความเร็วระหว่าง183-427 เมตรต่อวินาทีหากขึ้นลิฟต์ที่ชั้นแรก จะขึ้นไปชั้นที่ 80จะใช้เวลาแค่ 80 วินาที)  แต่นักวิจัยอเมริกันต้องตกใจ เมื่อพบว่า ตัวเลขคนบาดเจ็บและเสียชีวิต เพราะลิฟต์นั้นมันมากมายอย่างคาดไม่ถึง!  โดย ส่วนใหญ่เกิดจากโดนประตูลิฟต์หนีบ-สะดุดหกล้มตอนที่ก้าวเท้าเข้า หรือออกจาก ลิฟต์โดยที่ลิฟต์ยังจอดไม่สนิท (แต่บ้านเราที่เป็นข่าวบ่อยๆก็คือ...ข่าวลิฟต์ก่อสร้างร่วงกระแทกพื้น พร้อมคนงาน) นอกจากนั้นยังพบอีกว่า ลิฟต์ในสหรัฐฯที่เลยกำหนดการตรวจเช็คมีเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เมือง นิวยอร์กมีลิฟต์ไม่น้อย ที่ไม่ได้ตรวจสอบมานานถึง 3 ปีครึ่ง(จากรายงานข่าว ของ abc news)

แม้ว่าลิฟต์จะไม่ใช่สิ่งอำนวยความสะดวกที่ปลอดภัยทั้ง 100% แต่...ตัวเลขของภัยที่เกิดจากความบกพร่องชำรุดของลิฟท์นั้น เทียบไม่ ได้เลยกับสาเหตุที่เกิดจากความประมาทของ “คน”ที่ใช้ลิฟต์...และ ต่อไปนี้คือข้อเสนอแนะ  ที่คุณพ่อคุณแม่อาจนำไปสอนลูกๆหลานๆ เพื่อความปลอดภัยในการใช้ลิฟต์ครับ...

-สอนลูกๆว่า ... ลิฟต์เขามีไว้ใช้งาน เพื่อให้คนเดินขึ้นหรือลงหลายๆชั้นจะได้ไม่เมื่อย ดัง นั้นมันย่อมไม่ใช่เครื่องเล่นในสวนสนุก ที่ขึ้นๆลงๆด้วยความสะใจ และปุ่มในลิฟต์ก็ไม่ใช่ปุ่มคีย์บอร์ดของเกมออนไลน์ ที่พอเข้ามาในลิฟต์ปั๊บก็กดปุ่มปุ๊บ แล้วก็กดๆๆๆๆ กดทุกเบอร์ทุกปุ่มที่มี ด้วยความมันส์ เพราะนั่นอาจสร้างความเดือดร้อนและอันตรายให้กับคนส่วนใหญ่ และตนเอง  ถ้าลิฟต์ค้าง หรือ เกิดร่วงลงมา

-ระยะนี้มักพบกระทู้ที่ไม่ค่อยสร้างสรรค์อันหนึ่งที่แพร่ไปทั่วหลายต่อหลายเว็บ ที่โปรยหัวไว้ว่า “วิธีแก้เซ็งเมื่ออยู่ในลิฟต์” เด็กๆอ่านแล้วขอให้อ่านแค่ขำๆ และห้ามทำตามอย่างเด็ดขาด โดยเฉพาะมีข้อหนึ่งที่ระบุว่า “ให้แกว่งตัวโยกๆเยกๆ ไปๆมาๆในลิฟต์ พร้อมเปล่งเสียงว่า...ฮุยเล...ฮุยเล.!” ขืน ใครหลงทำตาม อาจพบชะตากรรมเช่นเดียวกับเด็กนักเรียนไฮสคูลในสหรัฐฯ(Harry Truman high school) ที่เล่นกอดรัดฟัดเหวี่ยงกับเพื่อนชายวัยทโมนอยู่ใน ลิฟต์ แล้วไปชนกระแทกประตูลิฟต์ จนเปิดอ้า ผลก็คือ...ร่างของเขาพลัดจากช่องลิฟต์แล้วร่วงลงในกระแทกพื้นล่าง สุด และเสียชีวิตทันที   ดังนั้น ต้องสอนเด็กๆนะครับว่า ยามอยู่ในลิฟต์จะต้องไม่กระโดดโลดเต้นใดๆทั้งสิ้น

-ลิฟต์ไม่ใช่เครื่องเล่นผาดโผน ดังนั้นจงอย่าเอาอย่างวัยรุ่นฝรั่ง(บางกลุ่ม)ที่ชอบท้าความตาย โดยใช้ชื่อกลุ่ม ว่า Elevator Surfing โดยงัดช่องเพดานลิฟต์ แล้วขึ้นไปยืนแอ่นอยู่บนหลังคนตู้ลิฟต์ โดยเด็กชายวัย 15 ผู้ประกาศตัวว่าเป็นแชมป์ “ลิฟต์เซิร์ป” แล้วต่อมาไม่นานได้พลาดเข้าไปติดกับสายเคเบิล ในสภาพหัวห้อยโตงเตงและสิ้นใจ ตายในที่สุด4  )  น้ำท่วม...ฟ้าผ่า...แผ่นดินไหว...ไฟไหม้  “ห้ามใช้ลิฟต์” 
          น้ำท่วมห้ามใช้ลิฟต์  เพราะ ในขณะนั้น กระแสไฟฟ้ามักจะถูกตัดในขณะใดก็ได้ ถ้าเวลานั้นเราอยู่ในลิฟต์ ก็อาจติดค้างในนั้นก็ได้  
          ฟ้าผ่า หรือพายุฝนฟ้าคะนองห้ามใช้ลิฟต์ เพราะอาจไฟดับ(โดยเฉพาะลิฟต์รุ่นเก่าๆ ที่ไม่มีไฟฟ้าฉุกเฉินสำรอง) ทางที่ดีก็คือ ให้อยู่ภายในอาคารนั่นแหละครับ แล้วรอจนกว่าฝนฟ้าจะสงบแล้วจึงค่อยใช้ลิฟต์
          แผ่นดินไหวห้ามใช้ลิฟต์ แม้เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้น้อยและไม่รุนแรงเมื่อบ้านเมืองอื่น เขา  แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เกิดขึ้นเลย(มิฉะนั้นคงไม่เกิด “ซึนามิ”) มีข้อแนะนำว่า   เมื่อแผ่นดินไหว ให้อยู่ห่างจากหน้าต่าง,ประตู,กระจก และ หลีกเลี่ยงจากใช้ลิฟต์หากจำเป็นก็ ให้มุดลงใต้โต๊ะทำงาน เพื่อศีรษะจะได้ไม่ถูกวัตถุสารพัดชนิดหล่นใส่
          ไฟไหม้ห้ามใช้ลิฟต์ อย่าเผลอใช้ลิฟต์เป็นทางหนีไฟ ให้วิ่งลงทางบันไดหนีไฟดีกว่าครับ

-เด็กๆหลายคนอาจไม่รู้มาก่อนเลยว่า ลิฟต์บางแห่งนั้นมีสองประตู นั่นทำให้ เด็ก(หรือผู้ใหญ่)ที่ชอบยืนพิงผนังลิฟต์ถึงกับล้ม หรือ ร่วงจากลิฟต์ลงมา!  ดังนั้นวิธีสังเกดก็คือ ให้ดูจากเส้นแบ่งครึ่งที่ประตูลิฟต์

-เมื่อประตูลิฟต์เปิด แล้วเห็นคนยืนอยู่กันแน่น ก็ให้รอรอบต่อไป อย่าฝืนโดยพยายามอัดเข้าไปให้ได้ เพราะจะทำให้ลิฟต์ค้างและเกิดอันตรายได้ครับ

-การยืนรอลิฟต์ที่จะได้ทั้งความปลอดภัย และมารยาทอันดีนั้น ก็คือ ...การยืนเข้าแถวก่อน-หลัง โดยยืนสองข้างซ้าย-ขวา แล้วเว้นช่วงประตูหน้าลิฟต์ เพื่อให้คนที่อยู่ในลิฟต์ได้ออกมาก่อน

-หากยืนอยู่ไกลจากปุ่มกดขึ้นลงชั้นต่างๆนั้น ไม่ต้องพยายามแทรกตัว หรือยื่นมือเบียดผู้อื่นเพื่อไปกด  แต่ให้บอกผู้ที่อยู่ใกล้ปุ่มกดช่วยกดให้ด้วย โดยบอกด้วยความสุภาพ และขอบคุณทุกครั้งที่เขาช่วยกดให้

-สำหรับข้อแนะนำสำหรับคุณผู้หญิง หรือนักเรียนหญิงก็คือ  หากมองเข้าไปในลิฟต์ แล้วเห็นผู้ชายลักษณะน่ากลัว หรือดูท่าจะไม่น่าไว้ใจได้ก็ไม่ควรเข้าไปในลิฟต์ หรือในขณะที่ยืนอยู่ในลิฟต์ แล้วพบผู้ชายแปลกหน้าท่าทางไม่น่าไว้ใจทำท่าจะเข้ามา ให้รีบเดินออกจากลิฟต์ทันทีครับ เมื่ออยู่ในลิฟต์ให้เลือกยืนใกล้ปุ่มกดขึ้นลง หรือจุดที่ใกล้ประตู (เพื่อเตรียมออก) จะปลอดภัยกว่าการเลือกยืนตรงกลาง หรือติดผนังลิฟต์ด้านในสุด

-ถ้าติดค้างในลิฟต์ ต้องใจเย็น อย่าร้อนรนเกินไปจนหายใจหอบ เพราะจะทำให้เหนื่อยและอาจเป็นลมได้  ให้กดสัญญาณขอความช่วยเหลือ หรือสัญญาณติดต่อภายนอก(Emergency Phone)

-เพื่อความปลอดภัยได้การออกกำลังกาย และช่วยประหยัดหากจะขึ้นหรือลงที่ไม่กี่ชั้น และพอไหว ก็ใช้ “เดิน”กันเถิดครับเพราะเป็นที่รู้กันว่า การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ดีเยี่ยมแล้วคุณยังได้ชื่อว่า “ประหยัดช่วยชาติ” เพราะทราบหรือไม่ว่า...การกดลิฟต์แต่ละครั้งนั้น เท่ากับสูญเสียพลังงานไปครั้งละ  7  บาท

สุดท้าย การระมัดระวังในการใช้ลิฟต์โดยสารไปยังชั้นต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งสำคัญและพึ่งระวัง อย่าคิดว่าเหตุการณ์อันตรายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะหากเกิดขึ้นแล้ว คนที่จะเสียใจอาจเป็นคุณ

ขอขอบคุณความรู้อ้างอิง : http://www.shawpat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=244%3A-m-m-s&catid=60%3Achild-safety&Itemid=155&lang=th   โดย สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย)


ถาดสำหรับวางสารเคมี ขนาดเล็ก Drip Tray ยี่ห้อ STUNT STT65

Compact and easy to clean this drip tray can act as liquid dispensing work area and it has a capacity of 65ltr
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

มีดเซฟตี้แบบสปริง ด้ามพลาสติก รหัสสินค้า SK020

ด้ามมีดเซฟตี้ ใช้งานอเนกประสงค์ ตัวด้ามผลิตจากพลาสติกอย่างดี มีระบบสปริงเด้งกลับอัตโนมัติเมื่อเลิกใช้งาน และปลอดภัย เหมาะกับงานตัดแต่งคลีบ ลบคม ต่างๆ
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ตัวล็อคอัตโนมัติสายเคเบิ้ล 20เมตร

ตัวล็อคอัตโนมัติ ชนิดสายเคเบิ้ล (Zine galvanized steel) บรรจุในพลาสติกกันความร้อน มาพร้อมตะขออลูมิเนียมปากเปิด 23 mm และตัวบ่งชี้การตก Fall indicator
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

แว่นตาเซฟตี้ WorkSafe รุ่น Alpha

กรอบและขาแว่นสแตนเลสป้องกันสนิม กระบังข้างโพลีคาร์บอเนตทนต่อแรงกระแทก เลนส์โพลีคาร์บอเนตเคลือบ Hard coated ที่รองจมูกซิลิโคนกันลื่นแบบนุ่ม
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า