callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> ข่าวสารความรู้ ความเป็นมาของงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ...?

ข่าวสารความรู้ ความเป็นมาของงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ...?

      เมื่อช่วงเดือนตุลาคม ปี พ.ศ.2528 ได้มีการหารือระหว่างหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับการพัฒนางานความปลอดภัยในการทำงาน ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า นอกจากกฎหมาย การตรวจแรงงาน การศึกษาวิจัย การทดสอบวิเคราะห์ปัญหาสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแล้วสมควรจะมีกิจกรรมเสริมโดยการจัดงาน “สัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน” ระดับประเทศเป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ กระตุ้นจิตสำนึกให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานในประเทศไทย อีกทั้งยังให้เป็นศูนย์กลางของกลุ่มบุคคลและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้บริหาร นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ และประชาชนทั่วไป ให้มาพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิชาการ แนวคิด วิธีการแก้ไขปัญหา และเป็นแหล่งแสดงผลงานวิชาการด้านความปลอดภัยที่ประสบความสำเร็จในสถานประกอบการ เพื่อการเผยแพร่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญของคนทำงาน ความเสียหายและความทุกข์ของคนที่ได้รับอันตรายจากการทำงาน รวมถึงความเสียหายจากทุกคนที่มีส่วนได้รับจากการนั้นด้วย

       วันที่ 18 ธันวาคม 2528 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน อันประกอบด้วยผู้แทนจากส่วนราชการ องค์กรของรัฐและเอกชนเป็นกรรมการร่วมกัน และมีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นเลขานุการ

          ปี พ.ศ. 2529 ประเทศไทยได้มีการจัดสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ขึ้นเป็นครั้งแรกในระ หว่างวันที่ 1 - 3 มิถุนายน 2529 ในครั้งนั้นคณะกรรมการการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ เสนอว่า เห็นเป็นการสมควรที่จะให้มีการจัดตั้งสมาคมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานขึ้น และควรให้มีการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติต่อไปทุกปี โดยให้สมาคมที่จะจัดตั้งขึ้นนี้มีส่วนเข้าร่วมด้วยและมี กรมแรงงาน (ในขณะนั้น) เป็นผู้ประสานงาน

ในวันที่ 20 มกราคม 2535 คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 1 – 5 กรกฎาคม ของทุกปีเป็นสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ และให้จัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ เป็นกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานในช่วงเวลาเดียวกัน
         26 สิงหาคม 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติยกเลิกวันที่ 1-5 กรกฎาคม เป็นสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ และให้วันที่ 10 พฤษภาคม เป็นวันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ตามข้อเรียกร้องขององค์กรลูกจ้างกรณีเกิดเพลิงไหม้บริษัท เคเดอร์ อินดัสเตรียล (ไทยแลนด์) จำกัด ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2536 ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 188 คน และให้มีการจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ ในช่วงเวลาเดียวกัน การจัดงานจึงได้เริ่มจัดในช่วงเวลาคาบเกี่ยววันที่ 10 พฤษภาคม ตั้งแต่ครั้งที่ 12 (พ.ศ.2541) เป็นต้นมา

    กิจกรรมหลักในการจัดงานได้แก่ การสัมมนาวิชาการ การจัดนิทรรศการ การประกวดต่าง ๆ เช่นการประกวดสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัยในการทำงาน การประกวดเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ประกวดภาพถ่ายความไม่ปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

คณะกรรมการส่งเสริมความปลอดภัย

คณะกรรมการประกอบด้วย ฝ่ายรัฐบาล

รองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

  • ปลัดกระทรวงแรงงาน
  • ปลัดกรุงเทพมหานคร
  • ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
  • เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  • เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
  • อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
  • อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • อธิบดีกรมควบคุมโรค
  • อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง
  • อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  • อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
  • ผู้อำนวยการสถาบันความปลอดภัยในการทำงาน
  • ผู้อำนวยการกองตรวจความปลอดภัย

ฝ่ายลูกจ้าง

  • นายชัยพร จันทนา
  • นายสมศักดิ์ ดวงรัตน์
  • นายอนุวัฒน์ ธุมชัย
  • ฝ่ายนายจ้าง
  • นายจรินทร์ งาดีสงวนนาม
  • นายเดชบุญ มาประเสริฐ
  • นายธำรง คุโณปการ

ผู้ทรงคุณวุฒิ (ฝ่ายรัฐบาล)

  • นายกสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน(ประเทศไทย)
  • ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • รศ.ดร.เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์
  • นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

อำนาจหน้าที่

  • กำหนดนโยบายการส่งเสริมคามปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย
  • กำกับและอำนวยการเพื่อให้การรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัยเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล
  • รณรงค์สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้นในสังคมแรงงาน
  • จัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงาน
  •      แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติงานเฉพาะกิจได้ตามความจำเป็น

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง : http://www.shawpat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=123&lang=th  สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย)


สถานีสำหรับใส่ป้ายเตือน รหัส S1601A

สถานีสำหรับใส่ป้ายเตือน สถานีเก็บอุปกรณ์ล็อค Lockout รหัส S1601A ติดผนัง สะดวกสบาย ติดผนัง สามารถเข้าถึงได้ง่าย ใช้ประโชน์ได้หลากหลาย
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

แว่นตานิรภัย WorkSafe KUIPER

แว่นตานิรภัย WorkSafe KUIPER สำหรับประกอบเลนส์สายตา กรอบตาทำจาก hypo allergenic nylon น้ำหนักเบายืดหยุ่นสูงหล่อไม่แตก
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

พัทตี้เอนกประสงค์

พัทตี้เอนกประสงค์ Putty Multi purpose ใช้สำหรับงานซ่อมถังที่รั่วซึม ใช้งานง่าย เพียงผสมส่วนผสม ทั้ง 2 ให้เข้ากัน ก็สามารถนำไปปะได้ ใช้เวลา set ตัว 20 นาที
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ถุงมือหนังท้องสลับผ้า มาตรฐานEN388

ถุงมือนิรภัย ผลิตจากหนังท้องสลับผ้าเกรดพรีเมี่ยม ยาว 25 ซม. ผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน EN388 ซึ่งใช้ในการหยิบจับโดยเฉพาะงานประเภทอุตสาหกรรม
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า