callcenter
หน้าหลัก >> ข่าวสาร >> รู้ไว้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน สวัสดิการและการควบคุม

รู้ไว้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน สวัสดิการและการควบคุม

สวัสดิการของพนักงานถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน  เพื่อให้พนักงานได้มีสิทธิเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย จะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ในบทความนี้จะพาทุกท่านไปทราบถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ลองไปดูกันครับ

สวัสดิการและการควบคุม
1.สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50คนขึ้นไป ต้องให้นายจ้างจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อย 5คน
2.นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นภาษาไทย และข้อบังคับนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการ ดังต่อไปนี้
                -วันทำงาน เวลาทำงานปกติ และเวลาพัก
                -วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด
                -หลักเกณฑ์การทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด
                -วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด
                -วันลาและหลักเกณฑ์การลา
                -วินัยและโทษทางวินัย
                -การร้องทุกข์
                -การเลิกจ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ
3.นายจ้างซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 10คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายการ ดังต่อไปนี้
                -วันและเวลาทำงาน
                -ผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
                -อัตราและจำนวนค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่ลูกจ้างแต่ละคนได้รับ เมื่อมีการจ่ายค่าจ้างใดๆให้แก่ลูกจ้าง ต้องให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในเอกสารไว้เป็นหลักฐาน
4.นายจ้างต้องเก็บรักษาทะเบียนลูกจ้างและเก็บเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างใดๆ ไว้ไม่น้อยกว่า 2ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างลูกจ้างแต่ละราย

การจัดสวัสดิการ

1.สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มี
                -น้ำดื่มสะอาด ไม่น้อยกว่า 1ที่ ต่อลูกจ้างไม่เกิน 40คน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วน 1ที่ต่อลูกจ้างทุกๆ 40คน เศษของ 40คน ถ้าเกิน 20คน ให้ถือเป็น 40คน
                -ห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดใน พรบ.การควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ
                -ห้องน้ำและห้องส้วม ต้องแยกกันสำหรับลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิง กรณีลูกจ้างคนพิการ นายจ้างต้องจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ

2.สถานประกอบกิจการ นายจ้างต้องจัดให้มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาล และการรักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้
                2.1 ลูกจ้างตั้งแต่ 10คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลในจำนวนที่เพียงพอ

กรรไกร

แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด

เข็มกลัด

ถ้วยน้ำ

ที่ป้ายยา

ปรอทวัดไข้

ปากคีบปลายทู่

ผ้าพัดยืด

ผ้าสามเหลี่ยม

สายยางรัดห้ามเลือด

สำลี ผ้าก๊อซ

ผ้าพันแผล

ผ้ายางปลาสเตอร์ปิดแผล

หลอดหยดยา

ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม

ทิงเจอร์ไอโอดีน

โพวินโดน-ไอโอดีน

น้ำยาโพวินโดน-ไอโอดีน ชนิดฟอกแผล

ผงน้ำตาลเกลือแร่

ยาแก้ผดผื่นที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ

ยาแก้แพ้

ยาทาแก้ผดผื่นคัน

ยาธาตุน้ำแดง

ยาบรรเทาปวดลดไข้

ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก

ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

เหล้าแอมโมเนียหอม

แอลกอฮอล์เช็ดแผล

ขี้ผึ้งป้ายตา

ถ้วยล้างตา

น้ำกรดบอริคล้างตา

ยาหยอดตา


                2.2 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200คนขึ้นไป ต้องมี
                                -เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาล ตาม 2.1
                                -ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียงเวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน 1) ตามความจำเป็น
                                -มีพยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยหนึ่งคนตลอดเวลาทำงาน
                                -แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสองครั้ง และเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน
                2.3 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่หนึ่งพันคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี
                                                -เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาล 2.1
                                                -ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยสองเตียงเวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน 1) ตามความจำเป็น
                                -พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้ประจำอย่างน้อยสองคน
                                                -แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสามครั้ง และเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสิบสองชั่วโมงในเวลาทำงาน
                                                -ยานพาหนะซึ่งพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลได้โดยพลัน

3.นายจ้างอาจทำความตกลงเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่เปิดบริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงและเป็นสถานพยาบาลที่นายจ้างอาจนำลูกจ้างส่งเข้ารับการรักษาได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แทนการจัดให้มีแพทย์ได้ โดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย


ถุงมือหนังท้องสั้น รหัส LL01

ถุงมือหนังท้องสั้น เหมาะสำหรับงานอุตสาหกรรมทั่วๆไป เป็นถุงมือด้านความปลอดภัย ถุงมือเซฟตี้ ซึ่งใช้ในการหยิบจับโดยเฉพาะงานประเภทอุตสาหกรรม
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ที่ครอบหูลดเสียง แบบคาดศีรษะ 3M-H10B

อปุกรณ์ลดเสียง ใช้ประกอบกับหมวกนิรภัยและครอบหูทั้งสองข้างเพื่อลดระดับเสียงภายนอกที่ดังเกินมาตรฐาน
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

ครอบตา BIONIX รหัส WSE303501

ครอบตา BIONIX สำหรับใช้งานป้องกันฝุ่น อนุภาคของแข็งเข้าดวงตา ผลิตจาก dual density rubber สวยงามน่าใช้ พร้อมมาด้วยระบบ Cooling Ventiation System
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า

แว่นตาเซฟตี้ประกอบเลนส์สายตา URANUS E3060

ผลิตจากวัสดุโพลีคาร์บอเนตที่ทนต่อแรงกระแทก น้ำหนักเบา กรอบและขาแว่นสีดำ เลนส์ออกแบบพิเศษสำหรับค่าสายตา พร้อมเคลือบ Hard coating (HC) มาตรฐาน ANZI/ISEA Z87.1-2015 , SS473:2011
คลิกเพื่อดูรายละเอียดสินค้า